ผลงาน Editorial คืออะไร สิ่งสำคัญที่ศิลปินทุกคนต้องรู้ไว้

หลากหลายสำนักข่าวหรือผู้ที่ทำคอนเทนต์ทั้งหลาย ต่างต้องการใช้ภาพมาประกอบบทความของตัวเอง และไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คนเหล่านั้นจะหาภาพหรือวีดีโอที่ต้องการมาทำคอนเทนต์ให้ทันเหตุการณ์ ณ ปัจจุบัน ความรวดเร็วของกระแสสังคมและข่าวแต่ละวันต้องใช้ความรวดเร็วในการนำเสนอ การให้บริการภาพ Editorial จึงเกิดขึ้นมาตอบโจทย์การใช้งานของกลุ่มคนเหล่านั้น

ภาพ Editorial คืออะไร?

ภาพที่ปรากฎคำว่า Editorial Use Only ในคำอธิบายก็คือผลงานที่ไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือเพื่อโปรโมทสินค้าและให้บริการใดๆได้ทั้งสิ้น เนื่องจากบุคคล วัตถุหรือสถานที่ในภาพไม่มีเอกสารยินยอมให้เผยแพร่แนบมาด้วย

ภาพ Editorial สามารถนำไปใช้ได้ในการนำเสนอภาพข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือใช้เป็นภาพที่เรียกว่า Illustrative Editorial หรือก็คือภาพประเภทที่จัดฉากถ่ายขึ้นโดยเล่าเรื่องราวของแบรนด์ สินค้า บุคคลหรือสถานที่ต่างๆที่มีลิขสิทธิ์

แต่ใช่ว่าเราจะยอมรับภาพที่ภาพมาเป็น Editorial Use ตัวอย่างเช่น ถ้าภาพนั้นสามารถบ่งบอกถึงคนในภาพได้อย่างชัดเจนหรือเจาะจงโดยไม่มีเอกสารเผยแพร่เราก็ไม่รับ ภาพ Editorial นั้นควรจะสื่อถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองโดยรวม โดยสามารถบ่งบอกได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในภาพนี้มากกว่าเจาะจงไปที่อะไรอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ

Documentary Images Vs Illustrative Images

1. Documentary Images คือภาพที่ถูกบันทึกจากเหตุการณ์จริง ของมนุษย์หรือวัตถุใดๆ เช่น พระราชพิธีต่างๆ การแข่งขันกีฬา หรือภัยพิบัติ เป็นต้น

2. Illustrative Images คือภาพที่ถูกจัดฉากขึ้นมาโดยมนุษย์เพื่ออ้างอิงเหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้น เช่น นำตุ๊กตามายืนเล่าเรื่อง วางผลิตภัณฑ์เชิงล้อเลียน เป็นต้น

โดยทั้งสองแบบนี้มีหลักการนำไปใช้เหมือนกันคือเพื่อประกอบข่าวและกิจกรรมต่างๆ แต่ต้องมีคำอธิบายพร้อมลงวันที่ประกอบให้ชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพนี้คืออะไร ที่ไหน อย่างไร ถ้าสามารถระบุได้ว่าใครอยู่ในภาพให้ใส่ไปด้วย

คุณภาพของไฟล์ที่ต้องคำนึง

  • ภาพจะต้องสื่อสารชัดเจน ไม่ให้เกิดความสับสน และง่ายต่อการเข้าใจ
  • จุดเด่นของภาพจะต้องชัด ไม่เบลอจนเกินไป
  • จะต้องไม่มี Noise ที่เยอะจนเกินไป
  • จะต้องดูเป็นธรรมชาติ ไม่แต่งเงาหรือไฮไลท์เยอะจนเกินไป
  • ถ้าเป็นการจัดฉากต้องดูสะอาดตาและมีสไตล์ของตัวเอง
  • ถ้ามีการใช้มือหรืออวัยวะใดๆในการถ่าย ส่วนนั้นจะต้องสะอาดเพื่อไม่ให้ถูกดึงดูดสายตา
  • พื้นหลังต้องไม่เด่นจนดึงดูดสายตาเกินไป

การใส่คำอธิบาย

คำอธิบายภาพของ Editorial นั้นควรอธิบายทุกอย่างที่เกี่ยวกับภาพได้โดยละเอียด อธิบายได้ว่า ใคร ทำอะไร เกิดอะไรขึ้น ทำไม ที่ไหน อย่างไร รวมถึงจัดการตัวอักษร เว้นวรรค รูปแบบให้ชัดเจนเพื่อให้ลูกค้าเข้าง่ายและนำไปใช้ได้อย่างถูกวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น เมือง/ประเทศ – เดือน/วันที่/ปี /คำอธิบายเกี่ยวกับรูปภาพ) เป็นต้น

การใส่ Keyword

เนื่องจากภาพ Editorial นำไปใช้ประกอบข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ การใส่คีเวิร์ดที่ถูกต้องและเกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก อย่าใส่คีเวิร์ดที่สามารถนำไปสู่การเข้าใจผิด ตัวอย่างเช่น ถ่ายผลิตภัณฑ์ Pepsi แต่ใส่คำว่า Sony มาแบบนี้ก็ไม่เกี่ยวกัน

การใส่คีเวิร์ดให้กับ Editorial นั้นสามารถใส่ชื่อของผลิตภัณฑ์และแบรนด์ต่างๆได้ ตราบที่คำนั้นสามารถอธิบายภาพได้อย่างถูกต้อง แล้วก็อย่าลืมใส่คำว่า Editorial หรือ illustrative Editorial ไปด้วย เพื่อให้ลูกค้าสามารถเจอภาพเหล่านี้ได้

Comments (0)

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*
*

Recommended for you

ALIVE คืออะไร? ทำความรู้จักกับพวกเรากัน

เรา คือ แพลตฟอร์มที่ให้บริการรูปแบบ Exclusive Gallery เดียวในประเทศไทยที่ให้ลูกค้าสามารถนำเนื้อหาภาพหรือวิดีโอ ไปใช้ในงานเพื่อการโฆษณา ประกอบบทความ และสื่อสารการทางการตลาดได้แบบถูกลิขสิทธิ์ เราเป็นคอลเลกชันคุณภาพระดับพรีเมียม