7 ช็อตมหัศจรรย์ที่ช่วยให้ภาพเล่าเรื่องได้ดียิ่งขึ้น

ชวนรู้จักช็อต 7 ประเภทที่จะช่วยให้ภาพเล่าเรื่องได้ดียิ่งขึ้น

คุณอยากได้ภาพแบบไหนก่อนจะขยับเลนส์เพื่อซูม?

ช่างภาพหลายคนอาจเลือกขยับเลนส์เพื่อหาจุดโฟกัสให้ภาพชัด บางคนอาจใช้เทคนิคปรับหน้าชัดหลังเบลอเพื่อช่วยให้วัตถุหรือคนตรงหน้าดูเด่นขึ้นมา แต่ถึงจะไม่มีหลักการตายตัว และไม่มีกรอบที่ชัดเจนในการถ่ายภาพ แต่เมื่ออยู่หลังเลนส์กล้องแล้ว รู้หรือไม่? การเลือกประเภทของช็อตในงานภาพก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับจินตนาการและ ‘แพสชัน’ ที่ไร้ขอบเขตเช่นกัน

แท้จริงแล้ว การเลือกประเภทช็อตในงานภาพเป็นเรื่องที่หลายคนมักมองข้าม แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับการเลือกรุ่นของกล้องเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะช่วยศิลปินจัดวางองค์ประกอบได้ตามเรื่องราวที่ต้องการแล้ว การเลือกช็อตให้เข้ากับสถานการณ์ยังเป็นตัวช่วยผลักดันให้ผู้ชมมี “อารมณ์” และ “ความเข้าใจ” ในเรื่องราวที่ต้องการจะถ่ายทอดอีกด้วย 

ในวันนี้ ALIVE UNITED  จะพาศิลปินทุกคนไปทำความรู้จักกับ 7 ช็อตในงานภาพที่สามารถช่วยให้ภาพเล่าเรื่องได้ดีขึ้น หากคุณเป็นมือใหม่ บทความนี้ก็จะยิ่งช่วยให้พัฒนาฝีมือในการเลือกช็อตให้เข้ากับงานได้ หรือถ้าหากใครเป็นมือเก๋าที่อยู่ในวงการมานาน ช็อตทั้ง 7 ประเภทนี้ก็จะช่วยให้ทบทวนสิ่งที่อาจหล่นหายไประหว่างทางได้ ถ้าหากพร้อมกันแล้ว หยิบกล้องขึ้นมาแล้วไปสร้างความหมายโดยใช้ช็อตกัน!

ชวนรู้จักช็อต 7 ประเภทที่จะช่วยให้ภาพเล่าเรื่องได้ดียิ่งขึ้น - Alive United

Shot 1 : Establishing Shot

หากเน้นการเล่าเรื่องด้วยภาพ Establishing Shot จัดว่าเป็นช็อตที่สำคัญมาก เพราะส่วนใหญ่แล้ว ช็อตนี้จะเป็นช็อตแรกที่ทำให้ผู้ชมได้เห็นรายละเอียดทั้งหมดได้ในเฟรมเดียว โดยภายในเฟรมอาจจะเป็นวิวทิวทัศน์ หรืออาจเป็นสิ่งปลูกสร้างของเมืองใดเมืองหนึ่งทั้งหมด ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ช็อตนี้มักจะเข้ามาช่วยในการบอกเล่า Setting ของภาพ รวมถึงโทนในการเล่าเรื่อง เช่น หากเลือก Establishing Shot เป็นเมืองใหญ่ ผู้ชมก็อาจเริ่มเข้าใจว่า คุณอาจจะต้องการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในเมือง หรืออาจใช้เมืองเพื่อสร้างความหมายอะไรบางอย่าง

Shot 2 : Wide Shot

Wide Shot หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อของ Long Shot แต่ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกแบบไหน ช็อตประเภทนี้ก็จะเป็นช็อตที่บ่งบอกถึงช่วงเวลาสำคัญของ Subject โดยการใช้ช็อตนี้จำเป็นที่จะต้องมี Subject เพื่อเป็นจุดโฟกัส แต่ตัว Subject นั้นจะไม่ได้ใหญ่คับจอแต่อย่างใด แต่จะเป็นการวาง Subject และมีพื้นที่เหลือเพื่อให้คนดูและผู้ชมได้เห็นเรื่องราวและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ของ Subject และสภาพแวดล้อม หรืออาจเน้นเป็นการถ่าย Subject ที่มีขนาดเล็กกว่าตัวสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างอารมณ์ให้กับคนดูก็ได้

Shot 3 : Full Shot

การจะกำหนดระยะและชื่อเรียกของช็อตแต่ละประเภทได้นั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว เราอาจใช้ตัวของ Subject ที่อยู่ในเฟรม ซึ่งถ้าหากเราถ่าย Subject หรือคนนั้น ๆ เต็มตัว เราก็จะเรียกช็อตนี้ว่า Full Shot โดยช็อตประเภทนี้จะเน้นให้ผู้ชมเข้าใจ ‘การกระทำ’ ของ Subject ผ่านภาษากายทั้งหมดที่เห็นในภาพ เพราะช็อตประเภทนี้จะแสดงให้เห็นถึงทุกการกระทำ รวมทั้ง ‘สีหน้า’ ที่ไปกับ ‘การกระทำ’ และ ‘อารมณ์’ ของ Subject ขณะนั้น ซึ่งการถ่าย Full Shot นั้นจะไม่เน้นการถ่ายสิ่งแวดล้อมหรือพื้นหลังมากนัก เพราะเราอยากให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่อยู่ใน Subject จริง ๆ ดังนั้น เมื่อทุกอย่างมาโฟกัสที่ Subject ของเรา ศิลปินจึงควรหาสัญลักษณ์บางอย่าง หรือดีไซน์การแต่งตัวที่โดดเด่นมากพอที่จะสื่อความหมายได้

Shot 4 : Medium Shot

อย่างที่บอกไปตอน Full Shot ว่าการจะเรียกชื่อแต่ละช็อตได้ต้องดูว่าเราเลือกโฟกัสกับ Subject ของเราขนาดไหน โดย Medium Shot นั้นจะเป็นการถ่ายภาพให้เห็น Subject เพียงครึ่งหนึ่ง หรือหากเป็นคนก็ถ่ายตั้งแต่หัวจนถึงหัวเข่าเท่านั้น ซึ่งการปรับเลนส์ของกล้องนั้นจะอยู่ที่ระหว่าง Full Shot และ Close-up Shot ที่จะอธิบายต่อไป ซึ่งหากศิลปินคนไหนสนใจจะใช้ Medium Shot ในการเล่าเรื่องนั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ช็อตประเภทนี้จะเน้นการสื่ออารมณ์ให้เห็นถึงธรรมชาติของ Subject ที่เป็นอยู่ขณะนั้น อีกทั้งยังช่วยให้คนดูเห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาษากายทั้งหมดได้ เช่น สีหน้ากับท่าทางของ Subject เป็นอย่างไร สัมพันธ์กับเรื่องราวที่ต้องการจะสื่ออย่างไร เป็นต้น

Shot 5 : Close-up Shot

Close-up Shot เป็นอีกหนึ่งประเภทช็อตยอดฮิตที่หลายคนรู้จัก โดยช็อตประเภทนี้จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อศิลปินต้องการจะสื่อถือโมเมนต์สำคัญ รวมถึงสีหน้าของ Subject ในช็อตที่ชัดเจนเพื่อสื่อถึงอารมณ์และความคิด ซึ่งแน่นอนว่า การ Close-up ใกล้ ๆ ก็จะช่วยให้เราเห็นถึงสีหน้าที่ชัดเจนมาก ๆ รวมถึงยังช่วยให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่เราสร้างผ่าน Subject ได้อีกด้วย ซึ่งช็อตประเภทนี้ยังสามารถใช้เป็นตัวเก็บรายละเอียดของตัวละครต่อจาก Medium Shot ได้อีกด้วย โดยการถ่ายช็อตประเภทนี้จะเน้นการถ่ายที่ใบหน้าเต็ม ๆ หรือระหว่างหน้าผากจนถึงคางนั่นเอง

Shot 6 : Over-the-Shoulder Shot

หากศิลปินต้องการเน้นบทสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติ และช่วยให้คนดูเข้าใจ Subject แต่ละชนิดมากยิ่งขึ้น การเลือก Over-the-Shoulder Shot มาใช้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คนดูเข้าใจความรู้สึกและปฏิกิริยาผ่านสีหน้าของ Subject หนึ่งที่ข้ามหัวไหล่ของอีก Subject หนึ่งได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว Over-the-Shoulder Shot จะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง Close-up Shot และ Extreme Close-up Shot ที่เน้นไปที่สีหน้า และที่สำคัญ การถ่ายช็อตนี้ยังจำเป็นต้องตั้งกล้องให้เห็นคอและไหล่ของ Subject แต่ละชนิดในช็อตเดียวกันอีกด้วย

การใช้ Dutch Angle/Tilt และ Wide Shot - ALIVE UNITED

Shot 7 : Dutch Angle/Tilt

และสุดท้าย หากใครต้องการเพิ่มความแปลกใหม่ให้กับงานภาพมากยิ่งขึ้น Dutch Angle/Tilt ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคการใช้ช็อตที่ไม่ควรมองข้าม โดย Dutch Angle/Tilt เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมในงานภาพยนตร์และถือกำเนิดขึ้นในสมัย German Expressionists หรือช่วงยุค 1920s โดยมุมนี้จะเน้นการเอียงกล้องไปยังมุมต่าง ๆ และใช้แกน X หรือแนวนอนเป็นจุดหมุนกล้อง ดังนั้น ภาพที่ออกจากมุมนี้ก็เห็นความเอียง ซึ่งสื่อได้ถึงความผิดปกติบางอย่างของ Subject เช่น ความสับสน มึนงง ไม่มั่นคง หรือศิลปินอาจใช้ Dutch Angle/Tilt ร่วมกับ Establishing Shot เพื่อเปิดเรื่องราวให้น่าสนใจ และมีมุมมองใหม่ ๆ ขึ้นก็ได้เช่นกัน

จบลงไปเรียบร้อยแล้วกับ 7 ช็อตมหัศจรรย์ที่จะช่วยเพิ่มเสน่ห์และสร้างความหมายในงานภาพได้ ALIVE UNITED หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเภทของช็อตทั้งหมดนี้จะช่วยให้ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร และสามารถสะท้อนตัวตน รวมถึง ‘แพสชัน’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น อย่าลืมนำช็อตทั้งหมดนี้ไปปรับใช้ให้เข้ากับเทคนิคของตัวเองด้วยนะ ไม่แน่ว่าอาจได้ช็อตแปลกใหม่จนใคร ๆ ต้องประทับใจก็ได้ แต่เมื่อได้ช็อตที่ประทับใจแล้วก็อย่าเก็บไว้คนเดียว และปล่อยให้ความประทับใจกลายเป็นโมเมนต์เล็ก ๆ ที่อยู่กับตัวเองเท่านั้น มาร่วมถ่ายทอดความประทับใจที่ไม่รู้จบและ ‘แพสชัน’ ที่ไม่เคยหยุดฝันของตัวเองไปพร้อมกับ ALIVE UNITED คลิกที่นี่อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ความคิดเห็น (0)

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*

แนะนำสำหรับคุณ

ALIVE คืออะไร? ทำความรู้จักกับพวกเรากัน

เรา คือ แพลตฟอร์มที่ให้บริการรูปแบบ Exclusive Gallery เดียวในประเทศไทยที่ให้ลูกค้าสามารถนำเนื้อหาภาพหรือวิดีโอ ไปใช้ในงานเพื่อการโฆษณา ประกอบบทความ และสื่อสารการทางการตลาดได้แบบถูกลิขสิทธิ์ เราเป็นคอลเลกชันคุณภาพระดับพรีเมียม

ความสมมาตร

ความสมมาตรกับภาพถ่าย ความเรียบง่ายที่ไม่ธรรมดา

กฎการถ่ายภาพเรื่องวางองค์ประกอบส่วนใหญ่ล้วนมาจากงานศิลปะยุคคลาสสิกทั้งสิ้น เทคนิคเหล่านั้นที่ปรมาจารย์ด้านศิลปะใช้สร้างสรรค์ผลงานยังคงถูกใช้ในการถ่ายภาพตราบจนทุกวันนี้ เรื่องของความสมมาตรก็เช่นกัน

เบื้องหลังเทคนิคการถ่ายภาพยนตร์ด้วย iPhone - ALIVE UNITED

เจาะลึก Tangerine (2015) หนัง Sundance ที่ถ่ายทำด้วย iPhone ทั้งเรื่อง

สำหรับหลาย ๆ คนแล้ว การมีอุปกรณ์รุ่นใหม่ราคาสูงไว้ใช้งานอาจช่วยตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยให้สร้างงานศิลปะได้เหมือนที่ใจปรารถนา แต่หากต้องการจะตอบคำถามด้านบนเกี่ยวกับความจำเป็นของอุปกรณ์ราคาแพงต่อคุณภาพ งานนี้ ALIVE UNITED ขอให้คำตอบว่า ‘ไม่เสมอไป’