ผลงาน Editorial คืออะไร สิ่งสำคัญที่ศิลปินทุกคนต้องรู้ไว้

หลากหลายสำนักข่าวหรือผู้ที่ทำคอนเทนต์ทั้งหลาย ต่างต้องการใช้ภาพมาประกอบบทความของตัวเอง และไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คนเหล่านั้นจะหาภาพหรือวีดีโอที่ต้องการมาทำคอนเทนต์ให้ทันเหตุการณ์ ณ ปัจจุบัน ความรวดเร็วของกระแสสังคมและข่าวแต่ละวันต้องใช้ความรวดเร็วในการนำเสนอ การให้บริการภาพ Editorial จึงเกิดขึ้นมาตอบโจทย์การใช้งานของกลุ่มคนเหล่านั้น

ภาพ Editorial คืออะไร?

ภาพที่ปรากฎคำว่า Editorial Use Only ในคำอธิบายก็คือผลงานที่ไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือเพื่อโปรโมทสินค้าและให้บริการใดๆได้ทั้งสิ้น เนื่องจากบุคคล วัตถุหรือสถานที่ในภาพไม่มีเอกสารยินยอมให้เผยแพร่แนบมาด้วย

ภาพ Editorial สามารถนำไปใช้ได้ในการนำเสนอภาพข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือใช้เป็นภาพที่เรียกว่า Illustrative Editorial หรือก็คือภาพประเภทที่จัดฉากถ่ายขึ้นโดยเล่าเรื่องราวของแบรนด์ สินค้า บุคคลหรือสถานที่ต่างๆที่มีลิขสิทธิ์

แต่ใช่ว่าเราจะยอมรับภาพที่ภาพมาเป็น Editorial Use ตัวอย่างเช่น ถ้าภาพนั้นสามารถบ่งบอกถึงคนในภาพได้อย่างชัดเจนหรือเจาะจงโดยไม่มีเอกสารเผยแพร่เราก็ไม่รับ ภาพ Editorial นั้นควรจะสื่อถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองโดยรวม โดยสามารถบ่งบอกได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในภาพนี้มากกว่าเจาะจงไปที่อะไรอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ

Documentary Images Vs Illustrative Images

1. Documentary Images คือภาพที่ถูกบันทึกจากเหตุการณ์จริง ของมนุษย์หรือวัตถุใดๆ เช่น พระราชพิธีต่างๆ การแข่งขันกีฬา หรือภัยพิบัติ เป็นต้น

2. Illustrative Images คือภาพที่ถูกจัดฉากขึ้นมาโดยมนุษย์เพื่ออ้างอิงเหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้น เช่น นำตุ๊กตามายืนเล่าเรื่อง วางผลิตภัณฑ์เชิงล้อเลียน เป็นต้น

โดยทั้งสองแบบนี้มีหลักการนำไปใช้เหมือนกันคือเพื่อประกอบข่าวและกิจกรรมต่างๆ แต่ต้องมีคำอธิบายพร้อมลงวันที่ประกอบให้ชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพนี้คืออะไร ที่ไหน อย่างไร ถ้าสามารถระบุได้ว่าใครอยู่ในภาพให้ใส่ไปด้วย

คุณภาพของไฟล์ที่ต้องคำนึง

  • ภาพจะต้องสื่อสารชัดเจน ไม่ให้เกิดความสับสน และง่ายต่อการเข้าใจ
  • จุดเด่นของภาพจะต้องชัด ไม่เบลอจนเกินไป
  • จะต้องไม่มี Noise ที่เยอะจนเกินไป
  • จะต้องดูเป็นธรรมชาติ ไม่แต่งเงาหรือไฮไลท์เยอะจนเกินไป
  • ถ้าเป็นการจัดฉากต้องดูสะอาดตาและมีสไตล์ของตัวเอง
  • ถ้ามีการใช้มือหรืออวัยวะใดๆในการถ่าย ส่วนนั้นจะต้องสะอาดเพื่อไม่ให้ถูกดึงดูดสายตา
  • พื้นหลังต้องไม่เด่นจนดึงดูดสายตาเกินไป

การใส่คำอธิบาย

คำอธิบายภาพของ Editorial นั้นควรอธิบายทุกอย่างที่เกี่ยวกับภาพได้โดยละเอียด อธิบายได้ว่า ใคร ทำอะไร เกิดอะไรขึ้น ทำไม ที่ไหน อย่างไร รวมถึงจัดการตัวอักษร เว้นวรรค รูปแบบให้ชัดเจนเพื่อให้ลูกค้าเข้าง่ายและนำไปใช้ได้อย่างถูกวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น เมือง/ประเทศ – เดือน/วันที่/ปี /คำอธิบายเกี่ยวกับรูปภาพ) เป็นต้น

การใส่ Keyword

เนื่องจากภาพ Editorial นำไปใช้ประกอบข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ การใส่คีเวิร์ดที่ถูกต้องและเกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก อย่าใส่คีเวิร์ดที่สามารถนำไปสู่การเข้าใจผิด ตัวอย่างเช่น ถ่ายผลิตภัณฑ์ Pepsi แต่ใส่คำว่า Sony มาแบบนี้ก็ไม่เกี่ยวกัน

การใส่คีเวิร์ดให้กับ Editorial นั้นสามารถใส่ชื่อของผลิตภัณฑ์และแบรนด์ต่างๆได้ ตราบที่คำนั้นสามารถอธิบายภาพได้อย่างถูกต้อง แล้วก็อย่าลืมใส่คำว่า Editorial หรือ illustrative Editorial ไปด้วย เพื่อให้ลูกค้าสามารถเจอภาพเหล่านี้ได้

ความคิดเห็น (0)

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*

แนะนำสำหรับคุณ

ALIVE คืออะไร? ทำความรู้จักกับพวกเรากัน

เรา คือ แพลตฟอร์มที่ให้บริการรูปแบบ Exclusive Gallery เดียวในประเทศไทยที่ให้ลูกค้าสามารถนำเนื้อหาภาพหรือวิดีโอ ไปใช้ในงานเพื่อการโฆษณา ประกอบบทความ และสื่อสารการทางการตลาดได้แบบถูกลิขสิทธิ์ เราเป็นคอลเลกชันคุณภาพระดับพรีเมียม

เบื้องหลังเทคนิคการถ่ายภาพยนตร์ด้วย iPhone - ALIVE UNITED

เจาะลึก Tangerine (2015) หนัง Sundance ที่ถ่ายทำด้วย iPhone ทั้งเรื่อง

สำหรับหลาย ๆ คนแล้ว การมีอุปกรณ์รุ่นใหม่ราคาสูงไว้ใช้งานอาจช่วยตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยให้สร้างงานศิลปะได้เหมือนที่ใจปรารถนา แต่หากต้องการจะตอบคำถามด้านบนเกี่ยวกับความจำเป็นของอุปกรณ์ราคาแพงต่อคุณภาพ งานนี้ ALIVE UNITED ขอให้คำตอบว่า ‘ไม่เสมอไป’

ผลงานคุณ Anapat A. – ALIVE ARTIST

ว่าด้วย Food Styling และเทคนิคการถ่ายภาพอาหารที่คุณควรรู้

การจัดวางอาหารให้ดูดี น่าทาน เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่จะทำให้ ‘อาหาร’ ดูน่าสนใจมากขึ้น วันนี้ ALIVE UNITED มาพร้อมเทคนิคการถ่ายภาพอาหารที่ทุกคนไม่ควรพลาด

เคล็ดลับการถ่ายรูปโดยใช้ Lens Flare - ALIVE UNITED

Lens Flare : เคล็ดลับการถ่ายรูประดับโปรที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด!

สำหรับหลาย ๆ คนแล้ว งานศิลปะอาจถูกจำกัดอยู่ในแพลตฟอร์มอย่างงานวาดหรือรูปวาดด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากสิ่งนั้นสามารถสะท้อนเรื่องราวและตัวตนของศิลปินหรือผู้สร้างได้ แน่นอนว่าสิ่งนั้นก็ย่อมเป็นศิลปะเช่นกัน